ระบบสแกนใบหน้า (Face Scan) ตัวช่วยธุรกิจเพิ่มระดับความปลอดภัย

Last updated: 8 มี.ค. 2567  |  472 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ระบบสแกนใบหน้า (Face Scan) ตัวช่วยธุรกิจเพิ่มระดับความปลอดภัย

ระบบสแกนใบหน้า (Face Scan) คืออะไร? ทำไมถึงสำคัญต่อธุรกิจ 

ความรู้จักเทคโนโลยี Access Control ล้ำสมัย ระบบสแกนใบหน้า (Face Scan) เทคโนโลยีใหม่ เพื่อธุรกิจยุคดิจิทัล 
    การทำงานในภาคธุรกิจ และอุตสาหกรรมมีขึ้นตอน มาตรฐาน ระเบียบปฏิบัติงานเป็นลำดับขั้น หากใช้ระบบอนาล็อกแบบในอดีตอาจทำให้เกิดปัญหาเรื่องความล่าช้าจนส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานรวมถึงส่งผลเสียต่อธุรกิจได้ เพราะฉะนั้นการนำเทคโนโลยีใหม่อย่างการสแกนใบหน้า (Face Scan) และการควบคุมผ่านระบบ Access Control จึงมีความสำคัญอย่างมาก เพราะจะช่วยให้การทำงานราบรื่น รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากขึ้น 

ระบบสแกนใบหน้า (Face Scan) คืออะไร? 
      ระบบสแกนใบหน้า (Face Scan) คือ ระบบ Access Control ที่ออกแบบ คิดค้น และพัฒนาขึ้นเพื่อตรวจจับใบหน้าของมนุษย์ มีการจดจำโครงสร้างใบหน้า (Face Recognition) จากนั้นจึงส่งผลการสแกนผ่านจอ LED หรือ LED Display ไปยังระบบเพื่ออนุญาตให้เจ้าของใบหน้า เข้าถึงระบบต่าง ๆ ในองค์กร หรือใช้งานระบบต่าง ๆ ขององค์กรตามที่ตั้งค่าเอาไว้ นอกจากการใช้ระบบ Face Scan เพื่ออนุญาตให้เข้าถึงระบบต่าง ๆ ภายในองค์กรแล้ว การสแกนใบหน้าผ่านระบบสแกนใบหน้า (Face Scan) ยังมักนำไปใช้ในการรักษาความปลอดภัยภายในสถานที่ต่าง ๆ รวมถึงใช้สำหรับสแกนใบหน้าฝูงชน เพื่อรักษาความปลอดภัยในพื้นที่ที่ต้องการ 
หลักการทำงานของเทคโนโลยีสแกนใบหน้า (Face Scan) 
      ในอดีตการสแกนใบหน้าใช้เทคโนโลยีสแกนแบบ 2 มิติ แต่ปัจจุบันนวัตกรรม Face Scan พัฒนาขึ้นกลายเป็นการสแกนใบหน้าผ่านการจดจำแบบ 3 มิติซึ่งมีความละเอียดสูง สามารถจดจำตำแหน่งต่าง ๆ ของอวัยวะบนใบหน้า ขนาด รูปร่าง และตำแหน่งของศีรษะ รวมถึงจุดเด่นบนใบหน้า เช่น โครงหน้า เบ้าตา จมูก และคาง เพื่อนำไปคำนวณแยกแยะความแตกต่างของแต่ละบุคคล ด้วยเหตุนี้ทำให้ระบบ Face Scan เป็นระบบที่มีความปลอดภัยสูง สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับทุกองค์กร หน่วยงาน บริษัท ไปจนถึงพื้นที่โรงงานอุตสาหกรรมที่ต้องการคัดกรองบุคคลเข้าพื้นที่ หรือต้องการคัดกรองบุคคลผ่านห้องประชุม ห้องควบคุม หรือ ห้อง Command Room เพื่อกรองสิทธิ์การใช้งานระบบต่าง ๆ ในองค์กร 
ระบบสแกนใบหน้า (Face Scan) สำคัญต่อธุรกิจในปัจจุบันอย่างไร 
      หลังจากที่เราได้ทำความรู้จักกับระบบสแกนใบหน้า (Face Scan) ไปแล้วว่าคืออะไร มีหลักการทำงานอย่างไร จากนี้เราจะมาทำความเข้าใจว่าทำไมการใช้เทคโนโลยี Access Control ที่ล้ำสมัย อย่างระบบสแกนใบหน้า (Face Scan) จึงมีความสำคัญต่อธุรกิจ 
      ในภาคธุรกิจ และอุตสาหกรรมความรวดเร็วย่อมเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะในเรื่องการตอกบัตรเข้า-ออกของพนักงาน เพราะยิ่งมีพนักงานในองค์กรเยอะ หากสามารถบันทึกเวลาเข้าออกได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ และมีประสิทธิภาพ ก็จะช่วยประหยัดเวลา ประหยัดงบประมาณ และยังช่วยให้พนักงานสามารถเข้าทำงานได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้การนำระบบสแกนใบหน้า (Face Scan) เข้ามาใช้ในองค์กร ยังสามารถใช้เพื่อเป็นการยืนยันตัวตนเข้าพื้นที่ที่กำหนดสิทธิ์ของแต่ละบุคคลเอาไว้ได้ ช่วยป้องกันผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาตผ่านเข้าไปยังบริเวณที่ต้องการ 
      ในส่วนของการตั้งค่าระบบ Access Control อย่างระบบสแกนใบหน้า (Face Scan) เบื้องหลัง ยังสามารถกำหนดสิทธิ์ของพนักงานแต่ละคนว่าสามารถใช้งานระบบอะไรในที่ทำงานได้บ้าง ซึ่งทั้งหมดนี้สามารถทำได้อย่างสะดวกรวดเร็ว แค่สแกนใบหน้ายืนยันตัวตนก็สามารถใช้งานได้เลย เพราะสิทธิต่าง ๆ ถูกตั้งค่าเอาไว้แล้ว 
     นอกจากนี้ระบบสแกนใบหน้ายังตอบโจทย์วิถี New Normal ที่ปัจจุบันหลายคนให้ความสำคัญกับการเว้นระยะห่าง การสแกนใบหน้าช่วยลดการสัมผัส ต่างจากการสแกนลายนิ้วมือ หรือใช้บัตรในการเข้าพื้นที่ หรือเข้าระบบต่าง ๆ เหมาะสำหรับใช้งานช่วงโควิด-19 เป็นอย่างดี นอกจากจะตอบโจทย์ด้านสุขอนามัย ความปลอดภัย และมาตรการของรัฐแล้ว ยังแสดงถึงความเอาใจใส่ และความเป็นมืออาชีพขององค์กรที่มีต่อพนักงานไปจนถึงผู้ใช้งานระบบอีกด้วย 
     จะเห็นได้ว่าการนำเทคโนโลยี Access Control อย่างระบบสแกนใบหน้า (Face Scan) เข้ามาใช้ในการทำงานนั้น ช่วยเพิ่มความรวดเร็ว ลดต้นทุน ลดเวลาในการทำงานที่ซับซ้อน ทำให้การทำงานของพนักงาน และระบบการทำงานในองค์กร โรงงาน พื้นที่อุตสาหกรรม มีความสะดวกขึ้นอย่างมาก 

ประโยชน์อื่น ๆ ของระบบสแกนใบหน้า (Face Scan) 

นอกจากมีความสำคัญต่อธุรกิจแล้วระบบสแกนใบหน้า (Face Scan) ยังมีประโยชน์อื่น ๆ อีกหลายอย่าง เช่น 
ใช้ยืนยันตัวตนในการทำธุรกรรม และการเปิดบัญชีธนาคาร 
ใช้ยืนยันตัวตนในการขอวีซ่า ใบขับขี่ และทำหนังสือเดินทาง ไปจนถึงการใช้บริการออกหนังสือสำคัญต่าง ๆ ของภาครัฐ 
ใช้เพื่อขออนุญาตทำงานในบริษัทที่ต้องผ่านการยืนยันตัวตนด้วยใบหน้า 
ใช้เพื่อยืนยันตัวตนระบบโซเชียลเน็ตเวิร์ค หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สมัยใหม่

ทำความรู้จักกับ AI Fever Screening and Access Control System

       ระบบ AI คัดกรองไข้และคัดกรองบุคคลจากใบหน้าก่อนเข้าพื้นที่ สามารถเชื่อมต่อกับระบบ Access Control ของแต่ละอาคารได้ เป็นระบบ Face Scan วัดอุณหภูมิ และจดจำใบหน้าขั้นสูงที่ใช้ AI Algorithm จาก MEGVII Face++ 

ระบบทำหน้าที่หลัก 2 ประการ ได้แก่  

1.วัดอุณหภูมิ เพื่อคัดกรองคนมีไข้ก่อนเข้าพื้นที่ 
2. จดจำใบหน้า เพื่อคัดกรองให้เฉพาะคนขององค์กร และคนที่ได้รับอนุญาต จึงจะผ่านเข้าพื่้นที่ได้สามารถเชื่อมต่อกับระบบ Access Control ของแต่ละอาคารได้  


คุณสมบัติเบื้องต้น 

วัดอุณหภูมิแม่นยำ 
ใช้งานง่าย  (เสียบปลั๊กใช้งานได้เลย, กินไฟน้อย) 
ช่วยลดความล่าช้า ณ จุดคัดกรอง 
ช่วยลดกำลังคน ณ จุดคัดกรอง 
ช่วยลดระยะเวลาในการคัดกรอง (1 คนใช้เวลาไม่เกิน 5 วินาทีเท่านั้น) 
ช่วยลดความเสี่ยง ณ จุดคัดกรอง 
มีเสียงแจ้งเตือนบุคคลที่มีอุณหภูมิสูง 
มีแจ้งเตือนเมื่อไม่ใส่หน้ากากอนามัย (เลือกได้ทั้งเสียงภาษาอังกฤษ และเสียงภาษาไทย) 
มีฟังก์ชั่น Liveness Detection สามารถป้องกันการหลอกด้วยรูปภาพได้ 
เชื่อมต่อกับ Access Control ได้ โดยใช้ Face Recognition เพื่อเข้าพื้นที่ ลดการสัมผัสอุปกรณ์ส่วนรวม ลดความเสี่ยงและการแพร่เชื้อ Covid-19 
เชื่อมต่อกับประตู Auto, Speed Gate, Turnstile ได้ 
สามารถบันทึกข้อมูล, ตรวจสอบข้อมูลย้อนหลังได้ 
เหมาะสำหรับโรงงาน, อาคารสำนักงาน, โรงเรียน, สวนสนุก, คอนโด, ห้างสรรพสินค้า, โรงแรม และสถานที่สาธารณะ

ปัจจัยหลักๆในการเลือกใช้โซลูชั่นตรวจจับอุณหภูมิและการสวมใส่หน้ากากอนามัย AI เราพอสรุปได้ดังนี้ 

Black Body Calibration : ระบบตรวจสอบอุณหภูมิห้องเทียบกับสีดำสนิท เพื่อช่วยให้ตรวจอุณหภูมิบุคคลได้อย่างแม่นยำสูงสุด 
Temperature Accuracy : ค่าความแม่นยำในการตรวจจับอุณหภูมิ จะมีค่าความผิดพลาดได้ ±0.1 - 1 องศาเซลเซียส (ปืนยิงหน้าผากสามารถมีความคาดเคลื่นได้ถึง 1-5 องศา) https://www.grainger.com/content/qt-370-infrared-thermometers 
AI Algorithm : มีการใช้ AI ในการตรวจจับใบหน้า แยกแยะสิ่งของกับบุคคล ระบบ AI ในการช่วยคำนวณ Core Body Temperature และช่วยตรวจจับการใส่หน้ากาก 
Detection Distance : ระยะห่างของบุคคลกับกล้องตรวจจับ มีความแตกต่างกันไปต้ังแต่ 0.5  - 5 เมตร 
Measurement Speed : ความเร็วในการตรวจจับใบหน้าและอุณหภูมิ บางระบบทำได้ถึง 80 คนต่อนาทีโดยการเดินผ่านกล้อง สำหรับอุปกรณ์แบบ PAD ก็ถูกออกแบบให้สแกนใบหน้าทีละคน (1:1) ซึ่งก็เหมาะสำหรับการตรวจจับอุณหภูมิพร้อมใช้เปิดปิดประตูได้ดีกว่า 
Number of Measurement : ความสามารถในการตรวจจับอุณหภูมิ บางระบบสามารถทำได้ 3-8 คนต่อวินาที สำหรับแบบ PAD จะทำงานได้ช้ากว่าเพราะต้อง Scan ทีละคน ต่อการสแกน 1 คนต้องใช้เวลาประมาณ 3-5 วินาที 
Recognition Speed : ความเร็วในการตรวจจับใบหน้าและเทียบกับฐานข้อมูล ระบบที่มีราคาสูงมักมีพลังและ Algorithm ในการตรวจจับขั้นสูงที่สามารถ Recognize ได้ด้วยความเร็วต่ำกว่า 1 วินาที 
Display Output : ความสามารถในการเชื่อมต่อจอแสดงผล 
Event Alarm : มีการแจ้งเตือนกรณีที่อุณหภูมิเกินที่กำหนด หรือไม่สวมหน้ากาก 
เสียงแจ้งเตือนภาษาไทย : บางระบบสามารถแจ้งเตือนเป็นภาษาไทย และสามารถอัดเสียงเพิ่มเองได้ 
Liveness Detection : ระบบป้องการการหลอกระบบ Face Recognition ด้วยการใช้ภาพถ่ายหรือวีดีโอ 
Access Control Integration : ความสามารถในการเชื่อมต่อเข้ากับระบบ Access Control ด้วยส่วนมากจะทำได้ดีบนอุปกรณ์ที่เป็นประเภท PAD 1:1 
Time Attendance : ระบบคำนวณเวลาทำงาน บางระบบมี Application ที่ HR สามารถนำไปใช้ได้ทันที และมี API ในการส่งรายงานไปโดยอัตโนมัติ บางระบบต้อง export เป็นไฟล์แล้ว HR ต้องไปทำการปรับปรุงเองเป็นต้น 
Face Database : จำนวนฐานข้อมูลใบหน้า พนักงาน บุคคลต้องห้าม แขก VIP หรือ Blacklist 
Historical Log : จำนวนรายงานที่สามารถเก็บบันทึกไว้ในฐานข้อมูล Mobile App : บางระบบสามารถมี Mobile App แจ้งเตือนเจ้าของร้าน ว่ามีผู้ที่อุณหภูมิเกินเข้ามาในสถานที่ได้ บางระบบมีความสามารถในการพัฒนา Application เพิ่มเติมโดยผ่าน API เป็นต้น

ระบบ Access Control ใช้กับเทคโนโลยีอะไรได้บ้าง

1.ระบบควบคุมการเข้าถึงแบบเคลื่อนที่ (Mobile Access Control) ในปัจจุบัน สมาร์ทโฟนกลายเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ใช้ในการดำรงชีวิต ไม่ว่าจะเดินทางไปไหนคนส่วนใหญ่ก็มักจะพกสมาร์ทโฟนไปด้วยทุกที่ เนื่องจากไม่ได้มีเพียงฟังก์ชันการโทรเข้า-โทรออกอย่างเดียว แต่ยังสามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชันต่าง ๆ ไว้ใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้อีกด้วย จึงเป็นไปได้ว่าในอนาคตจะมีการใช้สมาร์ทโฟนในรูปแบบของ Mobile Access Control มากขึ้น เช่น การนำมาใช้แทน Key Card ในการเข้า-ออกอาคารหรือสถานที่สำคัญ เพราะสมาร์ทโฟนเป็นสิ่งที่พกพาได้สะดวกและช่วยเพิ่มให้มีความปลอดภัยได้เนื่องจากสามารถเก็บข้อมูลของผู้ใช้เพื่อนำมายืนยันตัวตน 

2.ระบบควบคุมการเข้าถึงผ่าน Cloud (Cloud-Based Access Control) Cloud เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่เติบโตอย่างมาก เนื่องจากทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลจากที่ใดก็ได้และช่วยเพิ่มความสะดวกรวดเร็วในการทำงาน แต่สิ่งที่จะมาพร้อมกับการเติบโตของ Cloud ก็คือภัยคุกคามรูปแบบใหม่ที่มุ่งโจมตีข้อมูลใน Cloud โดยเฉพาะ ดังนั้นผู้ให้บริการจึงจำเป็นต้องมีระบบรักษาความมั่นคงปลอดภัยเพื่อสร้างความมั่นใจให้องค์กรที่จะมาใช้บริการ Cloud โดยกระบวนการหนึ่งที่สำคัญคือ การยืนยันตัวตนของผู้ที่มาเชื่อมต่อให้รู้แน่ชัดว่าคือพนักงานภายในองค์กรหรือผู้ที่มีสิทธิ์เข้าถึงจริง ๆ ซึ่งก็เป็นบทบาทของเทคโนโลยี Cloud-Based Access Control ที่มีหน้าที่คัดกรองบุคคลที่เข้ามาเชื่อมต่อ เทคโนโลยีชนิดนี้จึงยังมีโอกาสที่จะพัฒนาต่อไป ตราบใดที่ธุรกิจ Cloud ยังคงเติบโตอยู่

3.การยืนยันตัวตนหลายปัจจัย (Multi-Factor Authentication) เป็นการตรวจสอบและยืนยันตัวบุคคลจากปัจจัยหลาย ๆ อย่าง ตัวอย่างเช่น การใช้บัตรประจำตัว (ปัจจัยที่ 1) รหัสผ่าน (ปัจจัยที่ 2) และการสแกนลายนิ้วมือ (ปัจจัยที่ 3) เพื่อเข้าสู่ข้อมูลหรือทรัพยากรสำคัญขององค์กร วิธีนี้เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยป้องกันไม่ให้บุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาตเข้ามาในระบบ หรือซอฟต์แวร์ที่สำคัญ ในปัจจุบันแอปพลิเคชันต่าง ๆ โดยเฉพาะของธนาคารก็มีการใช้ระบบการยืนยันตัวตนแบบนี้เช่นกัน เพราะหากข้อมูลเหล่านี้ถูกโจรกรรมไปก็จะส่งผลกระทบค่อนข้างมาก และอาจส่งผลไปถึงภาพลักษณ์ของทางธนาคารด้วย จากการใช้งานที่มีประสิทธิภาพ ทำให้ Multi-Factor Authentication สามารถถูกนำไปใช้ร่วมกับ Access Control ประเภทอื่น ๆ อีก เช่น เทคโนโลยี Cloud-Based Access Control เป็นต้น 

4.ระบบควบคุมการเข้าถึงแบบไร้การสัมผัส (Touchless Access Control Systems) เนื่องด้วยสถานการณ์ Covid-19 ทำให้ผู้คนเริ่มให้ความสำคัญกับการเว้นระยะห่างมากขึ้น รวมทั้งยังหลีกเลี่ยงการสัมผัสสิ่งของสาธารณะ ซึ่งหลายองค์กรเข้าใจถึงสถานการณ์ดังกล่าวนี้ จึงได้นำเทคโนโลยีต่าง ๆ รวมถึงระบบ Access Control แบบไร้การสัมผัสมาช่วยอำนวยความสะดวกเพื่อลดความจำเป็นในการสัมผัส หลายองค์กรหันมาใช้ระบบไร้สัมผัสในการเข้า-ออกประตู เช่น การเคลื่อนไหวฝ่ามือบริเวณหน้าเครื่องอ่าน เพื่อให้ประตูเปิดออก โดยไม่จำเป็นต้องใช้นิ้วมือทาบลงไป นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าระบบจดจำใบหน้าเริ่มมาแทนที่ระบบสแกนลายนิ้วมือมากขึ้น ที่น่าสนใจก็คือ งานวิจัยต่าง ๆ เริ่มศึกษาเกี่ยวกับการอ่านใบหน้าของคนขณะที่ใส่หน้ากากอนามัยอยู่ด้วย เพื่อสร้างระบบจดจำใบหน้าที่มีประสิทธิภาพและมีความแม่นยำสูง โดยเฉพาะในช่วง Covid-19 ที่อาจไม่ปลอดภัยหากถอดหน้ากากอนามัยออก 

สรุปได้ว่า เทคโนโลยีของ Access Control มีวิวัฒนาการตามพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนเราและรูปแบบของเทคโนโลยีในยุคนั้น ๆ ซึ่งถ้าหากองค์กรไม่ปรับเปลี่ยนหรือนำเทคโนโลยีของ Access Control ใหม่ ๆ มาใช้ตามสถานการณ์ปัจจุบัน ก็อาจเป็นการเปิดช่องโหว่ให้ผู้ที่ไม่ประสงค์ดีผ่านเข้ามาถึงข้อมูลหรือทรัพยากรที่สำคัญได้ 

ขอขอบคุณข้อมูลhttps://aitscctv.com/access-control-system-1/

                              : การเลือกใช้โซลูชั่น AI สำหรับตรวจจับอุณหภูมิ และตรวจจับการใส่หน้ากาก และการทำ Access Control (nvk.co.th)

                              : ทำความรู้จักเทคโนโลยี Access Control ล้ำสมัย ระบบสแกนใบหน้า (Face Scan) เทคโนโลยีใหม่ เพื่อธุรกิจยุคดิจิทัล (gte.co.th)

                              : ระบบ Access Control ใช้กับเทคโนโลยีอะไรได้บ้าง - NT cyfence ผู้ให้บริการด้านการรักษาความปลอดภัยระบบ IT

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้